_สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงและการกระจายของป่าชายเลน
_ ประเทศไทยมีความยาวชายฝั่งทะเลทั้งประเทศ 2,667 กิโลเมตร
ครอบคลุมพื้นที่ 24 จังหวัด
ตั้งแต่ฝั่งอ่าวไทยจากจังหวัดตราดในภาคตะวันออกตลอดแนวชายฝั่ง
ถึงภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย จังหวัดนราธิวาส มีความยาว 1,653 กิโลเมตร
และทางด้ายชายฝั่งทะเลอันดามัน ตั้งแต่จังหวัดระนอง
จนถึงจัหวัดสตูลชายแดนติดประเทศมาเลเซีย มีความยาว 1,014 กิโลเมตร
โดยตลอดความยาวของชายฝั่งมีทรัพยาป่าชายเลนขั้นอยู่อย่างหนาแน่นกระจายตาม
ภูมิประเทศต่างๆ เช่น อ่าว ปากแม่น้ำ เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
บริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันมีเนื้อที่ชายเลนมากที่สุด
ในอดีตที่ผ่านมาป่าชายเลนของประเทศไทย ยังความอุดมสมบูรณ์มากถึง 2.3
ล้านไร่
ในอดีตการจัดการพื้นที่ป่าชายเลนของประเทศไทย ช่วงก่อนปี พ.ศ. 2504 รัฐบาลอนุญาติให้เอกชนทำไม้ป่าชายเลน โดยให้สัมปทานทำไม้ป่าชายเลนเพื่อผลิตถ่านไม้อย่างเดียว ซึ่งมีรุปสัมปทานทำไม้จำนวนไม่มากแต่ต่อมาภายหลังปี พ.ศ. 2504 รัฐบาลได้มีการปรับปรุงแผนการจัดการป่าชายเลนในเรื่องเกี่ยวกับระยะเวลาการ ให้สัมปทานเป็นช่วงเวลา 15 ปี และกหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิในการรับสัมปทาน ให้เป็นไปตามมติ คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2509 และการให้สัมปทานทำไม้ได้ดำเนินการเรื่อยมาจนสิ้นสุดสัมปทานแปลงสุดท้าย ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อที่ 19 พฤศจิกายน 2539 ให้มีการยกเลิกการให้สัมปทานทำไม้ในเขตป่าชายเลน เมื่ออายุการให้สัมปทานทำไม้สิ้นสุดลงทั้งหมดในปี พ.ศ. 2546 อย่างไรก็ตาม ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาพื้นที่ป่าชายเลนได้มีการเปลี่ยนแปลงและมีการใช้ ประโยชน์จากกิจกรรมต่างๆ มาโดยตลอดทำให้พื้นที่ป่าชายเลนลดลงมา เนื่องจากสาเหตุสำคัญหลายประการ ได้แก้ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การบุกรุกเพื่อทำนากุ้ง การทำนาเกลือ การขยายตัวของเขตเมือง การท่องเที่ยวและการอุตสาหกรรม จนปัจจุบันมีพื้นที่ป่าชายเลนเหลือเพียงประมาณ 1.5 ล้านไร่
นอกจากนี้ชุมชนชายฝั่งที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลนหรือติดกับป่าชายเลนประมาณ 1,000 หมู่บ้าน ยังมีความจำเป็นที่ต้องพึ่งพาอาศัยป่าชายเลนตามวิถึชีวิตและภูมิปัญญาที่มี อยู่ ทั้งด้านการทำประมงชายฝั่งและการใช้ไม้เพื่อใช้าสอยในครัวเรือน ซึ่งปัจจุบันหากจะจำแนกสภาพปัญหาป่าชายเลนตามสภาพพื้นที่และวิถีชีวิต วัฒนธรรมแล้ว สามารถแบ่งออกได้ คือ
1. พื้นที่ป่าชายเลนที่ยังคงมีความสมบูรณ์อยู่ และมีบางส่วนที่ชุมชนเข้าไปอยุ่อาศัย และใช้ประโยชน์ต่างๆ พบมากในบริเวณพื้นที่ป่าชายเลนชายฝั่งทะเลอันดามัน ในจังหวัดระนอง พังงา กระบี่ ตรัง สตูล และจังหวัดภูเก็ต
2. พื้นที่ป่าชายเลนที่มีราษำรเข้าบุกรุกครอบครองและเข้าใช้ประโยชน์เพื่อการ เลี้ยงกุ้ง พบมากในพื้นที่ป่าชายเลนบริเวณภาคตะวันออกในจังหวัดระยอง และจันทบุรี บริเวณภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ท้องที่จังหวัดสุราษร์ธานี และนครศรีธรรมราช
3. พื้นที่ป่าชายเลนที่ออกเอกสารสิทธิครอบครองตามกฎหมายและมีอาชีัพการปลูกป่า ชายเลน แต่ประสบปัญหาไม้คุ้มทุน จึงเปลี่ยนแปลงไปทำเป็นพื้นที่นากุ้ง และขายที่ดินให้กับเอกชน ปัจจุบัน มีปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ส่วนในบริเวณพื้นที่ป่าชายเลนบริเวณอ่าวไทยตอนบน ในจังหวัดฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และจังหวัดเพชรบุรี
ในอดีตการจัดการพื้นที่ป่าชายเลนของประเทศไทย ช่วงก่อนปี พ.ศ. 2504 รัฐบาลอนุญาติให้เอกชนทำไม้ป่าชายเลน โดยให้สัมปทานทำไม้ป่าชายเลนเพื่อผลิตถ่านไม้อย่างเดียว ซึ่งมีรุปสัมปทานทำไม้จำนวนไม่มากแต่ต่อมาภายหลังปี พ.ศ. 2504 รัฐบาลได้มีการปรับปรุงแผนการจัดการป่าชายเลนในเรื่องเกี่ยวกับระยะเวลาการ ให้สัมปทานเป็นช่วงเวลา 15 ปี และกหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิในการรับสัมปทาน ให้เป็นไปตามมติ คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2509 และการให้สัมปทานทำไม้ได้ดำเนินการเรื่อยมาจนสิ้นสุดสัมปทานแปลงสุดท้าย ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อที่ 19 พฤศจิกายน 2539 ให้มีการยกเลิกการให้สัมปทานทำไม้ในเขตป่าชายเลน เมื่ออายุการให้สัมปทานทำไม้สิ้นสุดลงทั้งหมดในปี พ.ศ. 2546 อย่างไรก็ตาม ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาพื้นที่ป่าชายเลนได้มีการเปลี่ยนแปลงและมีการใช้ ประโยชน์จากกิจกรรมต่างๆ มาโดยตลอดทำให้พื้นที่ป่าชายเลนลดลงมา เนื่องจากสาเหตุสำคัญหลายประการ ได้แก้ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การบุกรุกเพื่อทำนากุ้ง การทำนาเกลือ การขยายตัวของเขตเมือง การท่องเที่ยวและการอุตสาหกรรม จนปัจจุบันมีพื้นที่ป่าชายเลนเหลือเพียงประมาณ 1.5 ล้านไร่
นอกจากนี้ชุมชนชายฝั่งที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลนหรือติดกับป่าชายเลนประมาณ 1,000 หมู่บ้าน ยังมีความจำเป็นที่ต้องพึ่งพาอาศัยป่าชายเลนตามวิถึชีวิตและภูมิปัญญาที่มี อยู่ ทั้งด้านการทำประมงชายฝั่งและการใช้ไม้เพื่อใช้าสอยในครัวเรือน ซึ่งปัจจุบันหากจะจำแนกสภาพปัญหาป่าชายเลนตามสภาพพื้นที่และวิถีชีวิต วัฒนธรรมแล้ว สามารถแบ่งออกได้ คือ
1. พื้นที่ป่าชายเลนที่ยังคงมีความสมบูรณ์อยู่ และมีบางส่วนที่ชุมชนเข้าไปอยุ่อาศัย และใช้ประโยชน์ต่างๆ พบมากในบริเวณพื้นที่ป่าชายเลนชายฝั่งทะเลอันดามัน ในจังหวัดระนอง พังงา กระบี่ ตรัง สตูล และจังหวัดภูเก็ต
2. พื้นที่ป่าชายเลนที่มีราษำรเข้าบุกรุกครอบครองและเข้าใช้ประโยชน์เพื่อการ เลี้ยงกุ้ง พบมากในพื้นที่ป่าชายเลนบริเวณภาคตะวันออกในจังหวัดระยอง และจันทบุรี บริเวณภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ท้องที่จังหวัดสุราษร์ธานี และนครศรีธรรมราช
3. พื้นที่ป่าชายเลนที่ออกเอกสารสิทธิครอบครองตามกฎหมายและมีอาชีัพการปลูกป่า ชายเลน แต่ประสบปัญหาไม้คุ้มทุน จึงเปลี่ยนแปลงไปทำเป็นพื้นที่นากุ้ง และขายที่ดินให้กับเอกชน ปัจจุบัน มีปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ส่วนในบริเวณพื้นที่ป่าชายเลนบริเวณอ่าวไทยตอนบน ในจังหวัดฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และจังหวัดเพชรบุรี
_
ปัญหาสาเหตุ และผลกระทบจากการทำลายป่าชายเลน
_
ปัญหา
พื้นที่ป่าชายเลนลดลงอย่างต่อเนื่องเกิดจากสาเหตุหลายประการร่วมกัน
ที่สำคัญคือ การ ขยายตัวของประชากร ทำให้มีการพัฒนากิจกรรมต่างๆ มากมาย
ที่สำคัญคือ การประมงและการเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำ โดยเฉพาะการทำนากุ้ง
การทำเหมืองแร่ การเกษตรกรรม การขยายตัวของแหล่งชุมชน การสร้าง
ท่าเทียบเรือ การสร้างถนนและสายส่งไฟฟ้า การอุตสาหกรรมและโรงงานไฟฟ้า
การขุดลอกร่องน้ำ การทำนา เกลือ การตัดไม้เกินกำลังการผลิตของป่า
และกิจกรรมอื่น
สาเหตุ หลายกิจกรรมเกิดขึ้นในพื้นที่ป่าชายเลนเป็นเพราะเห็นว่าการใช้ประโยชน์ใน พื้นที่ป่าชาย เลน ทำให้ช่วยลดต้นทุนในการประกอบการ เพราะป่าชายเลนเป็นพื้นที่ป่าสงวนมีกฎหมายและระเบียบ ข้อบังคับไม่รัดกุม ทำให้มีผู้บุกรุกจำนวนมาก และการจับกุมทำได้ไม่ทั่วถึง สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ สืบเนื่องมาจาก ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับป่าชายเลนยังไม่เพียงพอและยังไม่ถูกต้องนักใน กลุ่มบุคคลระดับต่างๆ ทำให้ไม่ เห็นความสำคัญของป่าชายเลน เป็นผลให้การใช้ประโยชน์ป่าชายเลนเป็นไปอย่างไม่เหมาะสม
ผลกระทบ การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าชายเลนดังกล่าวทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศป่าชาย เลน หลายประการ เช่น อุณหภูมิน้ำสูงขึ้น ปริมาณธาตุอาหารลดลง ความเค็มเพิ่มขึ้น น้ำขุ่นข้น มีปริมาณสารพิษ ในน้ำ เกิดการพังทลายของดิน มีการเปลี่ยนแปลงชนิด ปริมาณและลักษณะโครงสร้างของพืชและสัตว์น้ำ ที่ สำคัญคือมีผลกระทบต่อความสมดุลของระบบนิเวศในป่าชายเลนและระบบนิเวศอื่นใน บริเวณชายฝั่งและ ใกล้เคียงป่าชายเลน ซึ่งจะส่งผลกระทบไปถึงเศรษฐกิจและประชาชนและของประเทศโดยรวม และยากที่จะ ฟื้นฟูให้กลับเป็นป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์เหมือนเดิมได้แม้จะต้องใช้เงินลง ทุนมหาศาล
สาเหตุ หลายกิจกรรมเกิดขึ้นในพื้นที่ป่าชายเลนเป็นเพราะเห็นว่าการใช้ประโยชน์ใน พื้นที่ป่าชาย เลน ทำให้ช่วยลดต้นทุนในการประกอบการ เพราะป่าชายเลนเป็นพื้นที่ป่าสงวนมีกฎหมายและระเบียบ ข้อบังคับไม่รัดกุม ทำให้มีผู้บุกรุกจำนวนมาก และการจับกุมทำได้ไม่ทั่วถึง สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ สืบเนื่องมาจาก ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับป่าชายเลนยังไม่เพียงพอและยังไม่ถูกต้องนักใน กลุ่มบุคคลระดับต่างๆ ทำให้ไม่ เห็นความสำคัญของป่าชายเลน เป็นผลให้การใช้ประโยชน์ป่าชายเลนเป็นไปอย่างไม่เหมาะสม
ผลกระทบ การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าชายเลนดังกล่าวทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศป่าชาย เลน หลายประการ เช่น อุณหภูมิน้ำสูงขึ้น ปริมาณธาตุอาหารลดลง ความเค็มเพิ่มขึ้น น้ำขุ่นข้น มีปริมาณสารพิษ ในน้ำ เกิดการพังทลายของดิน มีการเปลี่ยนแปลงชนิด ปริมาณและลักษณะโครงสร้างของพืชและสัตว์น้ำ ที่ สำคัญคือมีผลกระทบต่อความสมดุลของระบบนิเวศในป่าชายเลนและระบบนิเวศอื่นใน บริเวณชายฝั่งและ ใกล้เคียงป่าชายเลน ซึ่งจะส่งผลกระทบไปถึงเศรษฐกิจและประชาชนและของประเทศโดยรวม และยากที่จะ ฟื้นฟูให้กลับเป็นป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์เหมือนเดิมได้แม้จะต้องใช้เงินลง ทุนมหาศาล